วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บทความสื่อมวลชนเพื่อการศึกษา

สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา

อิทธิพลของสื่อมวลชนต่อความคิด จิตใจ และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน รวมทั้ง
ต่อการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมมีมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อประเภทอิเล็กทรอนิกส์ อันได้แก่สื่อวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งมีมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2520 ในสมัยรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และในปัจจุบันได้มีการนำสื่อมวลชนมาใช้ในทางการศึกษาซึ่งมีผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนั้นการทำความเข้าใจกับสื่อมวลชนเพื่อการศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น
สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา หมายถึง การนำสื่อมวลชนมาใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาบทเรียนไปยังผู้เรียนหรือผู้รับจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร ตำราเรียน และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อระบบไฟฟ้า ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ สื่อมวลชนมีหน้าที่ในการ ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ เป็นแหล่งกลางในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดในสังคม ให้สาระบันเทิงแก่ประชาชน ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ และให้บริการด้านธุรกิจการค้า ในด้านการเรียนการสอน เราใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษาเป็นเครื่องมือในการสอน ผู้สอนสามารถนำรายการวิทยุ โทรทัศน์ มาผนวกกับการสอน และเป็นสื่อที่ให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับบทเรียนนั้นโดยตรง เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการ โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ช่วยในการจับภาพจากกล้องจุลทัศน์เพื่อฉายให้ผู้เรียนเห็นบนจอรับภาพ ใช้เป็นสื่อสอนแทนครู ในกรณีที่มีการขาดแคลนครู ก็อาจใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เพื่อออกอากาศการสอนได้ ใช้เพื่อเสริมความรู้ เป็นการใช้รายการวิทยุ โทรทัศน์ ข่าวสารบทความเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ใช้บันทึกวีดิทัศน์การสอนหรือการปฏิบัติของผู้เรียนแต่ละคน เป็นสื่อในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อดำเนินการสอนส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้าน ใช้เป็นอุปกรณ์ในการบันทึกเรื่องราวสำคัญ การแสดง การทดลอง การบรรยายโดยวิทยากร ที่ออกอากาศทางวิทยุ สามารถบันทึกลงวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง และสิ่งพิมพ์ได้ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมวัสดุที่บันทึกเรื่องราวสำคัญต่างๆ ไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า โดยอาจเก็บไว้ในห้องสมุด ให้ผู้เรียนหรือผู้ฟัง/ผู้ชมร่วมในรายการ ใช้เพิ่มความเป็นธรรมในสังคม โดยการให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ที่ต้องออกจากโรงเรียน ผู้เรียนกลุ่มพิเศษ โดยการใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ เพื่อบริการสังคม เพื่อการเสนอข่าวสาร ความรู้ สาระบันเทิง ตลอดจนการศึกษาทั้งทางตรง และทางอ้อม

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในทางการศึกษา เช่น การนำคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือว่าเป็นสื่อมวลชนเพื่อการศึกษาประเภทอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการเรียนการสอน เป็นความต้องการที่จะพัฒนาความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ ให้กับเด็กๆ ที่เป็นอนาคตของชาติซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่สิ่งที่ผิดก็คือ เราเกิดไปเข้าใจแบบผิดๆ ว่าการส่งเสริมให้เด็กได้ “เล่น” กับคอมพิวเตอร์ คือ วิธีพัฒนาเรื่องนี้ ความเข้าใจผิดตรงนี้ก็ทำให้ครูและพ่อแม่ส่วนหนึ่งพยายามให้ลูกได้ “เล่น” คอมพิวเตอร์ผ่านเกมผ่านการท่องอินเทอร์เน็ตโดยผู้ใหญ่ไม่สนใจรายละเอียดของสิ่งที่ลูก “เล่น” ต่าง คิดว่านี่คือการเรียนรู้ที่สำคัญ คือทักษะที่จำเป็น เมื่อเด็กๆมีทักษะเหล่านี้และมักจะส่งผลให้พวกเขามีความสามารถ มีความเก่งทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถที่จะแข่งขันกับใครๆ ก็ได้ ความ เข้าใจผิดเช่นนี้เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะส่วนมากการที่เด็ก เล่น กับคอมนั้น จะเป็นการเล่นเกมเสียส่วนมาก ซึ่งเกมแต่ละเกมก็มีการออกแบบ ให้มีความท้าทาย น่าสนใจ น่าติดตาม และสุดท้ายเด็กที่ชอบเล่นเกมส่วนใหญ่ก็จะติดเกม เด็กติดเกมเลียนแบบพฤติกรรมของตัวแสดงในเกม ซึ่งเป็นข่าวที่เห็นได้ตามพาดหัวหนังสือพิมพ์บ่อย ๆ ว่าเด็กผูกคอตายเหมือนตัวแสดงในเกมบ้าง เด็กฆ่าตำรวจบ้าง และทำอะไรต่อมิอะไรอีกมากมายที่เราคาดไม่ถึง เพราะ ฉะนั้น เราต้องทำความเข้าใจกับเรื่องนี้ใหม่ ต้องคอยดูแลลูกหลานของเราอย่างใกล้ชิด หากเขาใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการค้นคว้าและเพื่อการเรียนรู้ นั่นคือ สิ่งที่เราต้องสนับสนุน แต่หากเขาใช้เพื่อเล่นเกมหรือเพื่อการเข้าไปข้องแวะกับเว็บไซต์ที่อาจจะเป็น อันตรายกับเขา เราต้องพูดคุยและตักเตือนนอก จากนี้ การดูแลและควบคุมเวลาการใช้คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมก็จำเป็นเพื่อป้องกันการติด เพราะเมื่อไรพวกเขาติดเกมหรือติดคอมพิวเตอร์แล้ว การแก้ไขมันยากมากทีเดียว
การศึกษา ในปัจจุบันสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติเน้นไปทางด้านการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้นนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงควรมีความรู้ในด้านสื่อสารมวลชนซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญในการสื่อสารโดยบูรณาการกับศาสตร์ด้านการศึกษาซึ่ง จะสามารถช่วยสร้างให้ผู้เรียนเกิดความปรารถนาที่จะเรียนรู้ อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) และสามารถถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นสู่สังคมซึ่งจะนำไปสู่สังคมอุดมความรู้และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: