วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การวางแผนการเรียนรู้และสัญญาการเรียนรู้

การวางแผนการเรียนรู้และสัญญาการเรียนรู้
เรื่อง case study เกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้
......................................................................................
1. กำหนดเป้าหมาย
1.1 สามารถนำหลักการของ case study ไปศึกษาแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ด้วยตนเองได้
ภายในเวลา 3 เดือน
1.2 มีความเชี่ยวชาญในการนำหลักการของ case study ไปศึกษาแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
2. กำหนดวิธีการเรียนรู้
2.1 เรียนรู้ด้วยตนเอง จากหนังสือ เว็บไซต์ ฯลฯ
2.2 สอบถาม ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
2.3 สังเคราะห์ความรู้จากเพื่อน ๆ
3. กำหนดแหล่งข้อมูลการเรียนรู้
3.1 หนังสือเรื่อง การศึกษารายกรณี ของรองศาสตราจารย์ ดร.ลักขณา สริวัฒน์ ,ฯลฯ
3.2 เรียนรู้ด้วยตนเองจากเว็บไซด์
http://www.google.com
3.3 สอบถามและขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ( ผศ.ดร.รัฐกรณ์ คิดการ )
3.4 สังเคราะห์ความรู้จากเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม ซึ่งมีดังนี้
3.4.1 นางสาวพวงประภา ไข่ชัยภูมิ
3.4.2 นายภัทรวัฒน์ เสาร์แก้ว
3.4.3 นายณัฐพล ประสงค์ทรัพย์
3.4.4 นายชัยวุฒิ ทวีศักดิ์
3.4.5 นาสาวภาวิณี วิบูลย์สิน
3.4.6 นางสาวธวัลรัตน์ เสียมกระโทก
3.4.7 นางสาวจิตร์ตรา ยาคำ




5 . กำหนดตัวชี้วัดผลสำเร็จ
5.1 สามารถนำหลักการของ case study ไปศึกษาแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ด้วยตนเองได้

6. กำหนดการวัดและประเมินผล
6.1 ประเมินจากชิ้นงานที่สำเร็จ
6.2 จากการทดสอบความรู้
6.3 จากกลุ่มเพื่อน ผู้สอน และผู้เชี่ยวชาญประจำวิชา

7 . การทำสัญญาการเรียน

ข้าพเจ้าขอให้สัญญาว่าจะตั้งใจปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ทุกประการ

ลงชื่อ....................................................................
(..............................................................)
นักศึกษาผู้ให้สัญญา

ลงชื่อ....................................................................
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐกรณ์ คิดการ )
อาจารย์ผู้สอน

วันที่...........................เดือน....................................พ.ศ. ....................






การทำกิจกรรมการเรียนรู้ก่อนปฏิบัติกิจกรรม
(Before Action Review : BAR)
เพื่อกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้



ข้อ 1 เราจะกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมอะไรได้บ้างจากการเรียนรู้ในหัวข้อนี้.....
ตอบ การศึกษารายกรณีแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ตามขั้นตอนการศึกษารายกรณีจากการออกของแบบของนักศึกษาโปรแกรมวิชาการศึกษาพิเศษ ชั้นปีที่ 5 หมู่ 2

ข้อ 2 การที่จะบรรลุเป้าหมายเราต้องมีความรู้และทักษะอะไรบ้าง
ตอบ การที่จะและออกแบบขั้นตอนการศึกษารายกรณี ต้องมีความรู้เบื้องต้น ดังนี้
ก่อนศึกษาต้องเรียนรู้สิ่งต่อไปนี้แล้วทำความเข้าใจเสียก่อน
- ความสำคัญของเรื่องที่จะศึกษา
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะศึกษา
- ความเป็นไปได้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
- ความสามารถในการค้นคว้า หรือเก็บรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงว่าจะเก็บได้ครบถ้วน และเป็นปัจจุบันหรือไม่
- มีแง่มุมใดที่น่าสนใจจนทำให้ต้องนำมาศึกษา
- เรื่องที่ศึกษาจะต้องก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน
- การกำหนดชื่อเรื่องกรณีศึกษา
การศึกษารายละเอียดเบื้องต้นของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- การสังเกตด้วยตนเอง
- การสำรวจ เช่นกฎ ระเบียบ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รายงานต่าง ๆ
- การสอบถามจากผู้รู้/ผู้ทรงคุณวุฒิ
- การศึกษาความเป็นไปได้ของการศึกษาในภาพรวมว่าจะมีผลดี ผลเสีย หรือกระทบต่อใคร หรืออะไรมากน้อยเพียงใด
การตั้งประเด็นการศึกษา/กรณีศึกษา
ตั้งประเด็นปัญหาหลัก(problem Statement)ที่ต้องการคำตอบ
- ต้องหาคำตอบทุกประเด็นปัญหา
กำหนดขอบเขตของประเด็นปัญหาให้ชัดเจน
- การกำหนดขอบเขตของประเด็นปัญหาให้ชัดเจนว่ากรณีศึกษาครอบคลุมในเรื่องใดบ้าง
- ขอบเขตของปัญหาควรกำหนดให้แคบเฉพาะเจาะจง อย่ากำหนดให้กว้างจนเกินไปนักเพราะมีเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และเขียนรายงานจำกัด
- การกำหนดขอบเขตที่แคบ และเฉพาะเจาะจงจะช่วยให้สามารถศึกษาปัญหาได้ลึก ศึกษาได้อย่างจริงจัง และแสวงหาคำตอบที่ชัดเจนได้ดี
พิจารณาแง่มุมที่ต้องการศึกษาโดยศึกษาเกี่ยวกับ
- โครงสร้างองค์การ หน่วยงาน ชุมชน หรือระบบสาระสนเทศนั้น ๆ
- วิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย
- สาเหตุที่ทำให้ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
- การป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้ว
เรียบเรียงเป็นประเด็นการศึกษา
- ประเด็นการศึกษาต้องกำหนดให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ ใคร่ที่จะแสวงหาคำตอบ
- ทุกถ้อยคำที่เขียนในประเด็นปัญหาต้องมีความหมายและเชื่อมโยงกับปัญหาที่ประสงค์จะศึกษา
การกำหนดวิธีการศึกษา
- การสังเกต
- การสำรวจ ค้นคว้า เอกสาร รายงาน ระเบียบ กฎหมาย ประกาศ คำสั่ง
- สัมภาษณ์จากผู้รู้ /ผู้เชี่ยวชาญ/ ผู้เกี่ยวข้องผู้ได้รับผลกระทบ
- การออกแบบสอบถาม
- การเก็บรวบรวมข้อมูลในเชิงสถิติ ตัวเลข ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ฯลฯ
การเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียด
- กำหนดแผนการดำเนินงาน(คร่าว ๆ)
- กำหนดงานที่ต้องทำ
- กำหนดผู้รับผิดชอบและระยะเวลา
- แบ่งงานกันทำ
- แยกกันไปเก็บรวบรวมข้อมูล
- เก็บข้อมูล(สังเกต สอบถาม สัมภาษณ์)
- รวบรวมข้อมูล(เอกสาร ฯลฯ)
- รวบรวมข้อมูล/ประมวลผลข้อมูล
- ลำดับความเป็นมา ข้อมูลและรายละเอียดต่าง สรุปข้อเท็จจริง

การวิเคราะห์ข้อมูล : วิธีการ
- การใช้ประสบการณ์ร่วมกันคิด ร่วมกันวิเคราะห์ ร่วมกันอภิปรายเพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุด เป็นไปได้มากที่สุด
- การปรึกษาหารืออันเป็นการแลกเปลี่ยนข้อเท็จจริง และทัศนะระหว่างกันและกัน
- การแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์จริงระหว่างนิสิต การสื่อสารถึงความเป็นไปได้ของข้อมูลในการให้คำตอบกับประเด็นปัญหาที่ทำการศึกษา
- อิงทฤษฎี หลักวิชาการ ระเบียบ กฎหมายเป็นกรอบในการวิเคราะห์
หลักและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
- การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
- การวิเคราะห์โดยใช้กรรมวิธีทางสถิติ
- การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
- การวิเคราะห์เนื้อหา
- การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน-ปัจจัยภายนอก
- SWOT Analysis
การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน-ปัจจัยภายนอก
ปัจจัยภายใน คือ
- ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ในระดับหนึ่ง
- การแก้ไขปัญหาทำได้ง่ายและรวดเร็วสามารถเห็นผลได้ชัดเจนกว่าปัจจัยภายนอก
ปัจจัยภายนอก คือ
- ปัจจัยที่ไม่สามารถจะควบคุมได้
- การแก้ไชปัญหาทำได้ยากมากกว่า
- การแก้ไขปัญหาควรต้องทำความเข้าใจและรอโอกาสในการแก้ไข อาจแก้ไขได้ หรือแก้ไขไม่ได้ก็ได้
วิธีการวิเคราะห์
- ดูความเกี่ยวข้อง อิทธิพล หรือผลกระทบต่อประเด็นที่ทำการศึกษาทั้งด้านบวก และด้านลบ
SWOT Analysis
ความหมาย
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเป็นการพิจาณาองค์ประกอบที่อยู่ภายในหน่วยงานที่ทำการศึกษาโดยเทียบกับคู่แข่งขันแล้วมีความเด่น หรือด้อยกว่า ถ้าเหนือกว่าจะถือว่าเป็นจุดแข็งถ้าด้อยกว่าจะถือว่าเป็นจุดอ่อน
องค์กระกอบของสภาพแวดล้อมภายใน
- การเงิน ทรัพยากรมนุษย์ โครงสร้างองค์การ วิธีการบริหารจัดการ ฯลฯ
ความหมาย
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นการพิจารณาองค์ประกอบที่อยู่ภายนอกหน่วยงานที่ทำการศึกษาโดยการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบ ถ้าเป็นผลกระทบด้านบวกจะถือว่าเป็นโอกาส หากมีผลกระทบด้านลบจะถือว่าเป็นภัยอุปสรรค
องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมภายนอก
- สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง คู่แข่งขัน ลูกค้า ฯลฯ
การสรุปผลการวิเคราะห์และการให้ข้อเสนอแนะ
- สรุปผลการวิเคราะห์ที่ได้จำแนก แยกแยะ(ปัจจัยภายปัจจัยภายนอก หรือ SWOT Analysis)ออกเป็นประเด็นที่สำคัญ ๆ ให้ชัดเจน
- การสรุปผลจ้องมีคำตอบให้สำหรับประเด็นที่ได้ทำการศึกษา
- การให้ข้อเสนอแนะ หากผลการวิเคราะห์พบว่าหน่วยงานที่ศึกษามีข้อบกพร่อง หรือจุดด้อยควรจะต้องให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว
ทักษะกระบวนการที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนการสร้างกรณีศึกษา
- การพิจารณาถึงความเป็นมาของเนื้อหา
- การกำหนดชื่อเรื่อง
- การศึกษารายละเอียดเบื้องต้นของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- การตั้งประเด็นปัญหา
- การกำหนดวิธีการศึกษา
- การเก็บข้อมูลรายละเอียด
- การวิเคราะห์ข้อมูล
- การสรุปผล
- การเขียนรายงาน
- การนำเสนอ
ถ้าต้องการศึกษาบุคคลก็จะต้องศึกษา
1. วิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
2. วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ต่อเนื่อง
3. ศึกษา หาวิธีการในการ
4. พัฒนานวัตกรรมหรือวิธีการแก้ปัญหา
5. นำนวัตกรรมหรือวิธีการแก้ปัญหาไปใช้
6. ตรวจสอบและสรุปผล


3.จะมีปัญหาในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้.......
ตอบ
1.จัดทำแผนการศึกษาให้เสร็จสั้นแล้วปฏิบัติตามแผนการศึกษานั้นอย่างเคร่งครัด
2.ต้องศึกษาจากเอกสาร ตำราทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสืบค้นข้อมูลสาระบบสนเทศจากอินเตอร์เน็ตที่เกี่ยวกับการศึกษารายกรณีทั้งด้านการศึกษาบุคคล องค์การ และระบบสาระสนเทศที่มีผลต่อเรื่องที่สนใจในการศึกษา แล้วนำมาสังเคราะห์ข้อมูลเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ต้องใช้ในการศึกษาต่อไป
3.ต้องนำความรู้ที่ได้จากการสังเคราะห์ทั้งมวลไปปรึกษาผู้รู้/ผู้เชี่ยวชาญ/หรือผู้มีประสบการณ์ในการศึกษาในเรื่องนั้นๆ มาก่อน
4.ออกแบบขั้นตอนการศึกษารายกรณีที่สนใจแล้วนำไปปรึกษาผู้รู้/ผู้เชี่ยวชาญ/หรือผู้มีประสบการณ์ในการศึกษาในเรื่องนั้นๆ มาก่อน อีกครั้งหนึ่งก่อนนำไปทดลองใช้


แบบประเมินตนเอง เพื่อประเมินความสามารถของตนเองที่มีอยู่ก่อนการเรียนรู้การศึกษารายกรณี
คำชี้แจง : ให้ท่านทำเครื่องหมาย / ที่ตรงกับระดับความรู้หรือความสามารถจริงของท่าน เพียงหนึ่งช่องต่อรายการประประเมินหนึ่งรายการ
รายการปัจจัย/องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับ
การศึกษารายกรณี
ด้านความรู้
1. ความหมาย ความสำคัญ และหลักการของการศึกษารายกรณี
2. สิ่งที่ต้องศึกษา ความสามารถในการค้นคว้า หรือเก็บรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงว่าจะเก็บได้ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน
3. กำหนดชื่อเรื่อง พิจารณาถึงความเป็นมาของเนื้อหา
ศึกษารายละเอียดเบื้องต้นของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
4. การตั้งประเด็นปัญหา กำหนดวิธีการศึกษา
เก็บข้อมูลอย่างละเอียด
5. วิเคราะห์ข้อมูล สร้างและนำนวัตกรรมหรือวิธีการ แก้ปัญหาไปใช้ ตรวจสอบสรุปผล เขียนรายงาน
นำเสนอ
ด้านทักษะ
1. มีทักษะในการสังเกต สำรวจ และสามารถวิเคราะห์ปัญหา จากการสังเกตและสำรวจ
2. ออกแบบแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบเก็บรวมรวมข้อมูลได้
3. กำหนดชื่อเรื่องได้ตรงตามหลักวิชา ตั้งประเด็นปัญหา
เก็บข้อมูลรายละเอียด ทำ SWOT Analysis ได้
4. สร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบ นำข้อมูล
ที่วิเคราะห์แล้วมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ต้องการวัด
5. เขียนรายงานการศึกษาได้ครอบคลุมกระชับ ง่ายต่อ
การทำความเข้าใจ นำเสนอได้ชัดเจน ถูกต้อง
ด้านความเชี่ยวชาญ
1. ออกแบบและวางแผนการปฏิบัติงานตามขั้นตอน
การศึกษา รายกรณีได้อย่างถูกต้องชัดเจน
2. จัดทำแบบสังเกต/สำรวจที่มีขั้นตอนการศึกษา
รายกรณี ครบถ้วน ถูกต้องตามหลักวิชา ชัดเจน
ในรายการที่ต้องการเก็บรวมรวมข้อมูล
3. เก็บรวมรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ เชื่อถือได้
มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงแน่นชัด
4. วิเคราะห์ปัญหาที่พบและวางแผนแก้ไขปัญหา
ได้ตรงจุด
5. สรุปผลการศึกษารายกรณีเป็นรูปเล่มเอกสาร
เพื่อเผยแพร่ได้อย่างถูกต้อง ง่ายต่อการศึกษา
ของผู้สนใจ และถ่ายทอดความรู้ กระบวน
กลวิธีในการศึกษา ให้กับผู้อื่นได้


นิยามเกณฑ์การประเมิน
ด้านความรู้
1 หมายถึง รู้ความหมาย ความสำคัญ และหลักการของการศึกษารายกรณี
2 หมายถึง สิ่งที่ต้องศึกษา ความสามารถในการค้นคว้า หรือเก็บรวบรวมข้อมูล
และ ข้อเท็จจริงว่าจะเก็บได้ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน
3 หมายถึง กำหนดชื่อเรื่อง พิจารณาถึงความเป็นมาของเนื้อหา
ศึกษารายละเอียดเบื้องต้นของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
4 หมายถึง การตั้งประเด็นปัญหา กำหนดวิธีการศึกษา
เก็บข้อมูลอย่างละเอียด
5 หมายถึง วิเคราะห์ข้อมูล สร้างและนำนวัตกรรมหรือวิธีการ แก้ปัญหาไปใช้
ตรวจสอบ สรุปผล เขียนรายงานนำเสนอ


ด้านทักษะ
1 หมายถึง มีทักษะในการสังเกต สำรวจ และสามารถวิเคราะห์ปัญหา จากการสังเกตและสำรวจ
2 หมายถึง ออกแบบแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบเก็บรวมรวมข้อมูลได้
3 หมายถึง กำหนดชื่อเรื่องได้ตรงตามหลักวิชา ตั้งประเด็นปัญหา
เก็บข้อมูลรายละเอียด ทำ SWOT Analysis ได้
4 หมายถึง สร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบ นำข้อมูล
ที่วิเคราะห์แล้วมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ต้องการวัด
5 หมายถึง เขียนรายงานการศึกษาได้ครอบคลุมกระชับ ง่ายต่อ
การทำความเข้าใจ นำเสนอได้ชัดเจน ถูกต้อง

ด้านความเชี่ยวชาญ
1 หมายถึง ออกแบบและวางแผนการปฏิบัติงานตามขั้นตอน
การศึกษา รายกรณีได้อย่างถูกต้องชัดเจน
2 หมายถึง จัดทำแบบสังเกต/สำรวจที่มีขั้นตอนการศึกษา
รายกรณี ครบถ้วน ถูกต้องตามหลักวิชา ชัดเจน
ในรายการที่ต้องการเก็บรวมรวมข้อมูล
3 หมายถึง เก็บรวมรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ เชื่อถือได้
มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงแน่นชัด
4 หมายถึง วิเคราะห์ปัญหาที่พบและวางแผนแก้ไขปัญหา
ได้ตรงจุด
5 หมายถึง สรุปผลการศึกษารายกรณีเป็นรูปเล่มเอกสาร
เพื่อเผยแพร่ได้อย่างถูกต้อง ง่ายต่อการศึกษา
ของผู้สนใจ และถ่ายทอดความรู้ กระบวน
กลวิธีในการศึกษา ให้กับผู้อื่นได้














ไม่มีความคิดเห็น: